วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วิธีพูดให้ประสบความสำเร็จ




วิธีพูดให้ประสบความสำเร็จ
วิธีพูดให้ประสบความสำเร็จนั้นมีสิ่งที่ควรสังเกตุดังนี้
1. รู้พื้นฐานของผู้ฟัง
หากผู้ฟังนั้นเป็นเพื่อนหรือคนในกลุ่มก็ไม่เท่าไหร่ เพราะพื้นฐานของคนพูดกับคนฟังนั้น ใกล้เคียงกัน แต่หากต้องไปพูดกับเพื่อนกลุ่มอื่นๆ แล้วต้องการให้เขาสนุกสนานด้วยแล้ว ก็ต้องจำเป็นต้องรู้พื้นฐานเขาก่อนว่าเขาอยู่ในกลุ่มคนใด อย่างเช่น กำลังคุยกับคนทางด้านหนังสือพิมพ์ กลับไปคุยตลกต่อว่าหนังสือพิมพ์เข้า ถ้าไม่ใช่หนังสือพิมพ์ของเขาก็แล้วไป แต่หากคุยเล่นตลกกันหนังสือพิมพ์ของเขาอาจจะมีเรื่องเกิดขึ้นได้... หรือ แม้นแต่พฤติกรรมของกลุ่มคน บางกลุ่มชอบคุยเล่นในรูปแบบใต้สะดือ แต่บางกลุ่มจะต้องคุยอย่างเรียบร้อย หรือบางกลุ่มรับไม่ได้กับการพุดเสียงดังเหล่านี้ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการพูดเลยทีเดียว...
2. เลือกเรื่องที่จะพูดเพื่อให้เหมาะกับผู้ฟัง
ผู้ฟังจะแบ่งออกง่ายๆ ก็จะเป็นหญิงและชาย และแบ่งย่อยออกไปเป็นกลุ่มของอายุ ซึ่งแต่ละกลุ่ม หรือ กลุ่มย่อยก็ตาม จะมีเรื่องที่สามารถคุยได้แตกต่างกัน ถ้าคุยกับเด็กๆ จะให้สนุก ก็ต้องคุยในเชิงเรื่องเล่า หรือนิทาน คุยกับวัยรุ่น อย่าสอนแต่ต้องเปรียบเปรย และ เหตุผล คุยกับคนแต่งงานแล้ว ก็จะคุยเรื่องลุกเรื่องครอบครัวสักส่วนใหญ่ เป็นต้น ทั้งน
3. ฝึกพุดบ่อยๆ
การฝีกพูดบ่อยๆ ทั้งต่อหน้ากระจก หรือ ต่อเพื่อนฝูงก็ตาม ต้องพยายามพูดให้เขาเข้าใจ เพื่อนที่เราคุยเล่น เป็นบททดสอบอย่างดีสำหรับการหัดพูด เราสามารถจะพูดได้ดีกับคนทั่วไปดีแค่ไหน หากการพูดกับเพื่อนแล้วยังสื่อสารได้ไม่ดี ก็ไม่ต้องไปคุยให้ใครฟังแล้วสนุกหรอก เพราะยังสื่อสารออกมาไม่ดีนั่นเอง ดังนั้นการฝึกพูดจึงเป็นสิ่งที่จะเป็นมากที่สุดการสังเกตุคนพูดเก่งๆ ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นในการฝีกพูด ดังนั้น หากคุณชื่นชอบคนพูดคนใด คุณต้องศึกษาและหาให้เจอว่า ผู้พูดที่ท่านชื่นชอบนั้น ใช้หลักการณ์ใดในการที่จะพูดให้คนอื่นสามารถนั่งฟัง เหมือนถูกมนต์สะกดได้
4. พูดด้วยน้ำเสียงมีน้ำหนัก
ทั้งเบา และดังตามสถานการณ์บางคนพูดเรื่องที่น่าสนใจ แต่พูดเสียงเบามาก แทบไม่ได้ยิน ก็จะทำให้คนฟังไม่ได้รับข้อความชัดเจนเท่าที่ควร อาจจะฟังขาดๆหายๆไปบ้าง หรือ บางคนพูดเรื่องที่น่าสนใจ แต่พูดเสียงดังมาก แสบแก้วหู ก็ทำให้คนฟังไม่อยากฟังได้เช่นกัน ดังนั้น การหัดพูดในน้ำเสียงที่พอเหมาะ ฟังชัด จะช่วยส่งเสริมให้การพูดน่าฟังมากยิ่งขึ้น ยิ่งตอนเล่านิทาน หรือเล่าเรื่องต่างๆ การให้เสียงเน้นหนัก หรือ ตื่นเต้น จะทำให้คนฟังมีจินตนาการคล้อยตามได้ง่าย
5. พูดด้วยใจ
พูดด้วยความรู้ที่มีการพูดในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้จริง อาจจะทำให้เราเดือดร้อน หรือ จนมุมได้ แต่การพูดในสิ่งที่คุณมีความรู้จริงนั้น จะทำให้คุณได้มีมุมมองต่างๆเพิ่มมากขึ้น หรือ หากคุณต้องการพูดให้คนอื่นสนุกสนาน นั้น คุณต้องพูดด้วยใจ จะเล่าเรื่องก็ต้องมีภาพในสอง แล้วบรรยายให้คนอื่นเห็นภาพที่คุณคิดไว้ นั่นเป็นการเล่าด้วยใจ คุณต้องอินกับสิ่งที่จะเล่า หรือ จะพูดก่อนที่จะพูดออกมา...
6. สังเกตุผู้ฟัง
ขณะเรากำลังพูดนักพูดที่ดีควรจะสังเกตุผู้ฟังเวลาพูดด้วย ต้องวิเคราะห์ผู้ฟังเป็นระยะๆ เพื่อจะได้ปรับปรุงการพุดให้ของเราให้สอดคล้องกับผู้ฟัง และ ความคิดของผู้ฟัง ณ ขณะนั้น ถ้าคุณสามารถพูด และ เห็นพฤติกรรมของคนฟังส่วนใหญ่แล้วละก็ คุณสามารถเอาพฤติกรรมเหล่านั้น เข้ามาเสริมในการพูดเพื่อทำให้ผู้ฟังได้รู้สึกเป็นส่วนร่วมก็ได้...
7. ปรับเปลี่ยนมุขเพื่อให้เข้ากับกลุ่มผู้ฟัง
มุขในการพูดอย่าคิดว่า จะใช้ได้ทุกครั้งในการพูด เพราะลูกเล่นในการพูดนั้น สื่อให้เห็นถึงภูมิในการพูดว่า สามารถดึงให้คนฟังอยู่ในสิ่งที่พูดได้มากน้อยเพียงใด และ แต่ละกลุ่มของคนฟัง ก็จะมีบางอย่างที่แตกต่างกันไป ซึ่งจะเห็นบ่อยๆ สำหรับตลกคาเฟ่ ที่เล่นมุขเดิม ในหลายๆ สถานที่ บางที่จะหัวเราะท้องแข็ง แต่บางที่ก็ไม่มีแม้นแต่เสียงหัวเราะก็มี... ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสะสมมุขในการพูดให้มาก และเลือกใช้ให้ถูกสถานที่ ถูกเวลาด้วย
8. ทบทวนการพูด
การพูดของคุณ หรือ การคุยกับใครๆนั้น หลังจากการพูด ก็ควรจะทบทวนการพูดของคุณว่า มีจุดใดต้องแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงบ้าง ก็ให้ลองไปคุยหน้ากระจกใหม่ว่า เราน่าจะพูดอย่างนั้น อย่างนี้นะ จะได้ดึงดูดความสนใจของคนฟังได้.. ซึ่งจะทำให้คุณพัฒนาการพูดได้มากยิ่งขึ้น...
สิ่งหนึ่งที่อยากเตือนไว้ คือ อย่าคาดหวังว่าผู้ฟังทุกคนจะชื่นชอบการพูดของเรา เพราะ การที่เราจะพูดหมายถึง เรากำลังสื่อสารทางด้านภาษาอย่างหนึ่ง สิ่งที่เราสื่อไป มันมีทั้งคนที่ชอบและไม่ชอบ คละกันไป ดังนั้น อย่าคาดหวังว่าคนฟังจะเป็นอย่างที่เราหวัง... เพราะหากคาดหวังส่วนใหญ่จะตื่นและจะผิดหวังตามมา...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น